2011年6月27日星期一

บริการยืม-คืน 6.26


บริการยืมคืน
เป็นการให้บริการยืมและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด โดยอัตโนมัติหรือไม่ และด้วยคอมพิวเตอร์

การยืม
  1. ผู้ใช้บริการที่ประสงค์ยืมทรัพยากรสารสนเทศออกนอกห้องสมุด สามารถนำบัติประจำตัวหรือบัติประจำนักศึกษาติดต่อที่เคาร์เตอร์ยืม-คืน
  2. ผู้ใช้บริการยืม จะต้องยืมทรัพยากรสารสนเทศให้เรียบร้อยก่อนออกจากห้องสมุด
  3. ผู้ใช้การยืม จะต้องรับผิดชอบ ระวังรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมให้อยู่ในสภาพดีเมื่อคืน

การคืน
  1. ทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมออกนอกห้องสมุดทุกรายการ จะต้องส่งคืนตามหรือก่อนวันกำหนดส่งที่ประทับในใบกำหนด
  2. ทรัพยากรสารสนเทศที่ยืมออก จะต้องนำมาส่งคืนที่เคาร์เตอร์บริการยืม-คืน
  3. หากผู้ใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศหายหรือชำรุด ผู้ใช้บริการจะต้องแจ้งที่เคาร์เตอร์บรการยืม-คืน ทันที พร้อมทั้งซื้อทรัพยากรสารสนเทศชิ้นดังกล่าว มาทดแทน หรือชำระค่าปรับตามราครจริง










ปรัชญา 
  1. ให้ความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด
  2. กำหนดนโยบายและระเบียบโดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศให้มากที่สุด
  3. เพื่อให้หนังสือขึ้นใช้กับผู้อ่านเร็วที่สุด

บทบาทหน้าที่ของกานยืม-คืน      
  1. การควบคุมบริการยืม-คืน
  2. ประชาสัมพันธ์ห้องสมุด เนื่องจากการยืมคืนเป็นบริการแรกที่ผู้ใช้จะมองเห็น ความประทับใจจากความช่วยเหลือและบริการที่ได้รับจึงมีผลต่อทัศนคติของผู้ใช้ ซึ่งเป็นสิ่งตัดสิงคุณภาพการยริการห้องสมุด


สาเหตุที่ผู้ใช้ไม่พอใจต่อการบริการยืมคืน
  1. ไม่สามารถหาหนังสือที่ต้องการใช้
  2. ไม่ได้รับการแจ้งเตือนกำหนดการส่ง
  3. จำกัดครั้งยืมหนังสือต่อ
  4. ไม่พอใจบริการที่ได้รับจากบรรณารักษ์
  5. เครื่องสำเนาเอกสาร คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆไม่พอใจ
  6. มีกลิ่นติดตาตดใจในห้องสมุด
  7. ระยะเวลาในการยืมสั้น
  8. เสียงรบกวนในการใช้ห้องสมุด
  9. อากาศร้อนหรือเย็นเกินไปในห้องสมุด 
 ความรู้และทักษะที่ต้องการ
  1. มีใจรักในงานบริการ มีความรอดทนสูง
  2. มีความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่มีไว้บริการ และสามารถตอบคำถามจากผู้ใช้ถึง80%
  3. มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์เวร์ทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เช่น opac
  4. มีไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
  5. มีมนุษยสัมพันธ์ดี 
คุณสมบัติของบรรณารักษ์

  1. ต้องการผ่านการศึกษาหรืออบรมทางสาขาวิชาบรรณารักษ์โดยเฉพาะ 
  2. มีความรู้เกี่ยวกับวัสดุการศึกษาทุกชนิด 
  3. มีความศรัทธาในอาชีพบรรณษรักษ์
  4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 
ค่าปรับ
  1. เพื่อกระจายกรเข้าถึงให้ผู้อื่น
  2. มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้มีการส่งคืนตามเวลาที่กำหนด
  3. การมีความรับผิตชอบ
 การจัดการปัญหาในการปรับ
  1. มีการยกเว้น
  2. มีการผ่อนผัน
  3. ไม่ตามกฏระเบียบการคืนจะระงับสิทธิ
  4. บางห้องสมุดอาจมีการติดตามจากบริษัทที่มีบริการติดตาม
  5. ห้องสมุดจะทำเรื่วอของระงับการออก transcript

ระบบการยืมอัตโนมัติ
URICA
DYNIX
TINLIB 

เทคโนโลยีที่ใช้ในห้องสมุด 
BAR CODE




QR CODE OR 2D BARCODE





BARCODE READER






RFID 




RFID-ACTIVE TAG



RFID-PASSIVE TAG 





 
 

2011年6月20日星期一

งานบริการห้องสมุด6.19

ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดแห่งชาติ


ดำเนินการโดยรัฐบาลทำหน้าที่หลักคือรวบรวมหนังสือสิ่งพิมพ์และสื่อความรู้ทุกอย่างที่ผลิตขึ้นในประเทศ และทุกอย่างที่เกี่ยวกับประเทศไม่ว่าจะจัดพิมพ์ในประเทศใด ภาษาใด ทั้งนี้เป็นการอนุรักษ์สื่อความรู้ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติมิให้สูญไปและให้มีไว้ใช้ในอนาคตนอกจากรวบรวมสิ่งพิมพ์ในประเทศแล้ว ก็มีหน้าที่รวบรวมหนังสือที่มีคุณค่าซึ่งพิมพ์ในประเทศอื่นไว้เพื่อการค้นคว้าอ้างอิงตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมบรรณานุกรมต่างๆและจัดทำบรรณานุกรมแห่งชาติออกเผยแพร่ให้ทราบทั่วกันว่ามีหนังสืออะไรบ้างที่ผลิตขึ้นในประเทศ ห้องสมุดแห่งชาติจึงเป็นแหล่งให้บริการทางความรู้แก่คนทั้งประเทศช่วยเหลือการค้นคว้า วิจัย ตอบคำถาม และให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับหนังสือ 


ห้องสมุดประชาชน
 ห้องสมุดประชาชนดำเนินการโดยรัฐอาจจะเป็นรัฐบาลกลางรัฐบาลท้องถิ่นหรือเทศบาลแล้วแต่ระบบการปกครองของแต่ละประเทศตามความหมายเดิมห้องสมุดประชาชนเป็นห้องสมุดที่ประชาชนต้องการให้มีในชุมชน หรือเมืองที่เขาอาศัยอยู่ ประชาชนจะสนับสนุนโดยยินยอมให้รัฐบาลจ่ายเงินรายได้จากภาษีต่างๆ ในการจัดตั้ง และดำเนินการห้องสมุดประเภทนี้เป็นบริการของรัฐ จึงมิได้เรียกค่าตอบแทน เช่น ค่าบำรุงห้องสมุด หรือค่าเช่าหนังสือ ทั้งนี้เพราะถือว่าประชาชนได้บำรุงแล้ว โดยการเสียภาษีรายได้ให้แก่ประเทศ  
หน้าที่ของห้องสมุดประชาชนก็คือให้บริการหนังสือเพื่อการศึกษาตลอดชีวิต บริการข่าวสารความเคลื่อนไหวทางวิชาการและเหตุการณ์ต่างๆที่ประชาชนควรทราบส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและการรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ให้ข่าวสารข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการปฏิบัติงานและการพัฒนาด้านต่างๆ ของแต่ละคนและสังคม 

ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย  
  เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยการจัดรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่นๆในหมวดวิชาต่างๆตามหลักสูตรช่วยเหลือในการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์และนักศึกษาส่งเสริมพัฒนาการทางวิชาการของอาจารย์และนักศึกษา
ดยจัดให้มีแหล่งความรู้และช่วยจัดทำบรรณานุกรมและดัชนีสำหรับค้นหาเรื่องราวที่ต้องการแนะนำนักศึกษาในการใช้หนังสืออ้างอิงบัตรรายการ และคู่มือสำหรับการค้นเรื่อง 

ห้องสมุดโรงเรียน

 เป็นห้องสมุดที่ตั้งอยู่ในโรงเรียนมัธยมและโรงเรียนประถมศึกษามีหน้าที่ส่งเสริมการเรียนการสอนตามหลักสูตรโดยการรวบรวมหนังสือและสื่อความรู้อื่นๆตามรายวิชาแนะนำสั่งสอนการใช้ห้องสมุดแก่นักเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
แนะนำให้รู้จักหนังสือที่ควรอ่านให้รู้จักวิธีศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ให้รู้จักรักและถนอมหนังสือและเคารพสิทธิของผู้อื่นในการใช้ห้องสมุด
และยืมหนังสือซึ่งเป็นสมบัติของทุกคนร่วมกันร่วมมือกับครูอาจารย์ในการจัดชั่วโมงใช้ห้องสมุดจัดหนังสือและสื่อการสอนอื่นๆ ตามรายวิชาให้แก่ ครูอาจารย์ 

ห้องสมุดเฉพาะ
คือห้องสมุดซึ่งรวบรวมหนังสือในสาขาวิชาบางสาขาโดยเฉพาะ มักเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยราชการ องค์การ บริษัทเอกชน หรือธนาคาร ทำหน้าที่จัดหาหนังสือและให้บริการความรู้ ข้อมูล และข่าวสารเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของหน่วยงานนั้น  
ห้องสมุดเฉพาะจะเน้นการรวบรวมรายงานการค้นคว้าวิจัย วารสารทางวิชาการ และเอกสารเฉพาะเรื่องที่ผลิตเพื่อการใช้ในกลุ่มนักวิชาการบริการของห้องสมุดเฉพาะจะเน้นการช่วยค้นเรื่องราว ตอบคำถาม แปลบทความทางวิชาการ จัดทำสำเนาเอกสาร ค้นหาเอกสาร จัดทำบรรณานุกรมและดัชนีค้นเรื่องให้ตามต้องการ จัดพิมพ์ข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์เฉพาะเรื่องส่งให้ถึงผู้ใช้ จัดส่งเอกสารและเรื่องย่อของเอกสารเฉพาะเรื่องให้ถึงผู้ใช้ตามความสนใจ


 
ความหมายของงานบริการห้องสมุด


คืองานที่ห้องสมุดจัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในด้านการอ่านการค้นคว้าหาความรู้และส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางและทั่วถึง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับสารสนเทศอย่างรวดเร็ว

ความสำคัญของงานบริการห้องสมุด


งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการอ่านเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ตลอดจนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี  


 วัตถุประสงค์ของงานบริการห้องสมุด


 
1. เพื่อส่งเสริมการอ่าน
2. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
3. เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่และคุ้มค่า 
4. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเพลิดเพลิน พัฒนาสมองให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด 


 บริการของห้องสมุด
1. บริการยืม - คืน
2. บริการช่วยตอบคำถามและช่วยค้นคว้า
3. บริการยืม - คืนระหว่างห้องสมุด
4. บริการสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูล
5. บริการยืมหนังสือสำรอง
6. บริการแฟ้มเอกสารประกอบการเรียนรายวิชาต่างๆ
7. บริการถ่ายเอกสาร
8. บริการรายงานวิชาต่างๆ
9. บริการวารสารและหนังสือพิมพ์
10.บริการ Book Delivery
11.บริการ Book Suggestion
12.บริการ Renew
13.บริการจองหนังสือ
14.บริการสื่อมัลติมีเดีย


ปรัชญาของงานบริการห้องสมุด

Ranganathan 5 lwas
1.หนังสือมีไว้ให้ใช้
2.ผู้อ่านแต่ละคนได้หนังสือที่ตนจะอ่าน
3.หนังสือทุกเล่มมีผู้อ่าน
4.ประหยัดเวลาของผู้อ่าน
5.ห้องสมุดเป็นสถานที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


Gorman Librarianship
1.ห้องสมุดมีไว้เพื่อให้บริการมนุษยชาติ
2.ยอมรับการสื่อสารความรู้ทุกรูปแบบ
3.ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาดเพื่อเสริมสร้างบริการ
4.เปิดเสรีในการเข้าถึงความรู้
5.เคารพรับสิ่งที่ผ่านมา และสร้างอนาคต

 

2011年6月17日星期五

สรุปเรื่องเรียน-การบริการ 6.12

การบริการ

หมายถึงผลิตภัณฑ์รูปแบบหนึ่งที่ผู้ขายผลิตขึ้นมาให้แก่ลูกค้า เพื่อสร้างความสะดวก ความประทับใจ และดึงดูดความสนใจต่อ ลูกค้า เพื่อสร้างความสะดวก ความประทับใจ และดึงดูดความสนใจต่อลูกค้า เนื่องจากสมัยนี้เป็นสมัยที่การแข่งขัน เรื่องเดียวกันมีหลายๆบริษัท หรือองค์กรมาทำซึ่งบริการผลิตภัณฑ์นี้ของแต่ละบริษัท หรือองค์กรดี หรือไม่ดี นั่นก็คือปัจจัยที่มีผลกระทบตรงต่อบริษัท หรือองค์กร

 การบริการมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามสมัย ตามไลพสไตล์ เนื่องจากมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นมาเป็นจำนวนมาก อาทิ มือถือ อาหารประโยชน์ เป็นต้น 

 ประเภทการบริการมีสองประเภทหลักคือ การบริการเชิงธุรกิจ และการบริการเชิงสาธารณะ สองประเภทนี้ ต่างกันที่จุดมุ่งหมาย และผลที่ได้รับ อาทิ บริษัทเอกชนกับหอสมุด

 ลักษณะการบริการ
 การให้บริการของบริษัท หรือองค์กรต่อลูกค้าจะเกิดผลทันทีคือความพึงพอใจในการใช้บริการ จะดี หรือไม่ดี มีความสะดวกหรือไม่ นี่เป็นปัจจัย และผลของบริการที่สามารถให้บริษัท หรือองค์กรได้ผลดีหรือไม่ดี และให้มีการปรับเปลี่ยน และปรับเปลี่ยนได้รวดเร็ว ซึ่งในการให้บริการนั้น บุคคลากรเป็นส่วนสำคัญในการให้บริการ เนื่องจากบุคคลากรเป็นสื่อกลางระหว่างบริษัท หรือองค์กรกับลูกค้า บุคลากรจะ   ี่ให้บริการแก่ลูกค้าอย่างตรง บริการดี หรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับบุคคลากร ทัศนคติของบุคคลากร การผิตพลาด การบกพร่อง เป็นต้น  ดังนั้น บุคคลากรจึงเป็นตัวแปรสำคัญ และสามารถทำลายงานบริการได้