2011年8月31日星期三

บริการแนะนำ & Web 2.0 8.28



บริการแนะนำการใช้หอสมุด และบริการแนะนำการอ่าน
 เป็นบริการที่จัดเตรียมโดยห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการอ่านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในในรูปแบบต่างๆของ ห้องสมุด ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัยของผู้ใช้แต่ละคน พูดโดยตรงก็คือเพื่อให้ผู้ใช้ได้อ่านหนังสือที่มี ประโยชน์ดี 
เช่นการทำ Poster เพื่อแนะนำ


กิจกรรมส่งเสริมหนังสือน่าอ่าน
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างต่อเนื่องจน กระทั่งเป็นนิสัยรักการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเชิดหุ่น การแสดงละคร การแนะนำ หนังสือที่น่าสนใจ เป็นต้น
1.เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือใหม่ ๆ ของห้องสมุดต่อผู้ใช้บริการ
2.เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่าน และการหาความรู้ด้วยตนเอง
3.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

  กิจกรรมกระเช้าหนังสือ
1.เพื่อให้มีสิ่งพิมพ์อยู่ใกล้ตัวนักเรียน
2.เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างของนักเรียนให้เป็นประโยชน์ด้วยการอ่าน
3.เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนไปตลอดชีวิต

กิจกรรมระเบียงความรู้
1.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักการอ่าน และมีแหล่งความรู้ใกล้ตัว
2.เพื่อส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.เพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
4.เพื่อใช้ผู้ใช้ทราบเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
กิจกรรมยอดนักอ่าน
1.เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางขึ้น และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แพร่หลาย
2.เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ที่รักการอ่านได้พัฒนาการอ่านไปตลอดชีวิต
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนและครูทุกคนได้เห็นคุณค่าของการอ่าน และรักการอ่านมากยิ่งขึ้น









เว็บ2.0 (Web 2.0) มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บซึ่งมีลักษณะ ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลการพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง user-centered designและการร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บเว็บ ไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการ ของเว็บ  2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออ นไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม หรือดูเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจ สำหรับตัวอย่างของเว็บ 2.0 ได้แก่ บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ สารานุกรมเสรี วิดีโอแชริง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ แมชอัพส์ และ โฟล์คโซโนมี
คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม โอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 คำว่า เว็บ 2.0 นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะ ของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัวเว็บ 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใดแต่เป็นคำที่กล่าวถึงลักษณะโดยรวมที่ผู้พัฒนาเว็บเปลี่ยนแปลง วิธีการออกแบบเว็บไซต์และผู้ใช้ปลายทางเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้งานเว็บ ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้เริ่มแนวความคิด และสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของเว็บ 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า "เว็บ 2.0" จะถูกนำมาเรียกใช้ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของเบอร์เนิร์ส ลี คือการสร้างสื่อที่เอื้อต่อการร่วมสรรค์สร้างของผู้ใช้งาน เป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่รับ แต่สามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้วย
WEB 2.0 นั้นมีคำจำกัดความหลายอย่าง ทิม โอไรล์ลีย์ ได้กล่าวไว้ว่าเว็บ 2.0 เปรียบ เหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมี ลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกันภายใต้ซอฟต์แวร ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวมโอไรล์ลีย์ได้แสดงตัวอย่าง ของระดับของเว็บ  2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้
 ระดับ3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสาร ของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย สไกป์ อีเบย์ เครกส์ลิสต์
 ระดับ2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน อินเทอร์เน็ตแต่ เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่งโอไรลลีย์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ ฟลิคเกอร์ เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
 ระดับ1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน อินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ไรต์รีย์ (ปัจจุบันคือ กูเกิลดอคส์) และ ไอทูนส์
 ระดับ0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น แมปเควสต์ และ กูเกิล แมปส์
ซึ่งแอปพลิเคชันหลายตัวที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอย่าง อีเมล เมสเซนเจอร์ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในลักษณะของเว็บ 2.0 แต่อย่างใด
โดยลักษณะที่เด่นชัดของเว็บ 2.0 นั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว โดยรวมไปถึงการรวดเร็ว และการง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งบล็อกและ เว็บที่ให้บริการอัปโหลดภาพถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างของเว็บ 2.0 ที่ให้เห็นได้ทั่วไป ที่มีการให้บริการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการใช้งานที่ง่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด เห็นได้ว่าลักษณะของเว็บ 2.0 นั้นก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหา ที่รวดเร็ว และมีการแบ่งปันข้อมูลที่ง่ายขึ้น โดยลักษณะของเว็บเปลี่ยนจากทางเน้นหนักทางด้านเทคนิค ไปใน ด้านข้อมูลข่าวสารแทนที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านธุรกิจต่อมา

没有评论:

发表评论