2011年8月21日星期日

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

 ความหมาย
บริการยืมระหว่างห้องสมุด(Interlibrary Loan or Interlibrary Lending -- ILL)เป็นบริการสถาบันสารสนเทศที่จัดขึ้นเพื่อลดปัญหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการไม่เพียงหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช และเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบันซึ่งมีกระบวนการที่ผู้ใช้จากห้องสมุดหนึ่ง มีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดประเภทหนึ่งจากอีกห้องสมุดหนึ่งที่มีความตกลงในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

 ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. ขยายขอบเขตการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ให้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศของ สถาบันบริการสารสนเทศอื่นได้
  2. สร้างภาพพจน์ที่ดีของงานบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจความประทับใจ และความรู้สึกอันดีต่อห้องสมุด
  3. ลดช่องว่างระหว่างห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากกับห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวน จำกัด และลดภาวะการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศเนื่องจากงบประมาณมีจำกัด
  4. หลีกเลี่ยงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนกัน 
  5. เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างก้องสมุดภายในภูมิภาคเดียวกันและต่างภูมมิภาค
ปัญหาของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. ด้านผู้ใช้ ผู้ใช้ขาดความเข้าใจในแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดเกี่ยวกับการกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน และความไม่เข้าใจในระเบียบการใช้ห้องสมุดที่ต้องการยืมจึงทำผิดระเบียบโดยไม่เข้าใจ
  2. ด้านผู้ให้บริการ ห้องสมุดมีการหมุนเปลี่ยนงานในหน้าที่เป็นประจำ จึงส่งผลให้บริการยืม ระหว่างห้องสมุดต้องมีการปรับเปลี่ยนผู้ที่ลงนามในแบบฟอร์ม
  3. ด้านนโยบายและข้อตกลงความร่วมมือ ห้องสมุดมีเคร่งครัดต่อกฏระเบียบการบริการยืมระหว่าง ห้องสมุดมากเกินไป ไม่ผ่อนผันตามความจำเป็น
  4. ด้านการดำเนินการและบริการยืมระหว่างห้องสมุดทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เครื่องมืออุปกรณ์ ที่ยังไม่พร้อมจะให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

องค์ประกอบของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 
    - ความร่วมมือตามสังเกตของหน่วยงาน
    - ความร่วมมือตามประเภทของห้องสมุด
    -ความร่วมมือตามสาขาวิชา
    -ความร่วมมือตามพื้นที่ภูมมิศาสตร์ 
  2.  การจัดทำข้อตกลงความร่วมการบิการยืมระหว่างห้องสมุด การร่วมมือการบิการยืมระหว่างห้องสมุด จำเป็นต้องการมีข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างที่จะพบในการให้บริการ เช่นวิธีการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการยืม เป็นต้น
  3. แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นแบบฟอร์มที่เพื่อให้ผู้ใช้กรอกรายละเอียดในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ 
  4. ผู้ใช้  

 แหล่งที่มา http://www.lib.northcm.ac.th/ncucms/?name=news&file=readnews&id=110








การบริการนำส่งเอกสาร


บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Service--DD) หมายถึงการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและยังไม่ได้เผยแพร่ และจัดส่งให้ผู้ใช้ในรูปของเอกสารกระดาษหรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการนำส่งที่มีประสิทธิภาพ และมีการคิดค่าบริการกับผู้ใช้ บริการนำส่งเอกสารนี้ยังรวมถึงส่วนที่เดี่ยวข้องกัลลิขสิทธ์






ควาสำคัญของบริการนำส่งเอกสาร
  1. ลดการสะสมสารสนเทศของห้องสมุด 
  2. ทำให้จัดสรรงบประมาณของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ขยายขอบเขตการเข้าถึงสารสนเทศแก่ผู้ใช้ไม่ว่าสารสนเทศนั้นจะมีให้บริการที่ใดก็ตาม
  4. ทำให้มีบริการสารสนเทศที่ครบวงจร
ปรัชญาของการบริการ  
  1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ 
  2. สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  3. สามารถแก้ปัญหาการบริการให้แก่ผู้ใช้ ในเรื่อง ไฟ น้ำท่วม หรือในกรณีที่เกิดการสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งในการบริการผู้ใช้นั้นผู้ที่ให้บริการจะต้องมีการเพิ่มหรือเสริมสร้างศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริการที่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของการบริการ
ในการให้บริการนำส่งเอกสารของห้องสมุดนั้นจะใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ Just in time คือ เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ที่าสามารถนำทรัพยากรมาให้ผู้ใช้ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สามารถค้นหาได้ทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ สามารถดำเนินการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทันที 





ประเภทของผู้ให้บริการนำส่งเอกสาร
  1. ผู้ให้บริการที่เป็นห้องสมุด
  2. ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารทั่วไป  (CarlUncover)
  3. ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะวิชา (University Microfilm international --UMI)
  4. ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์ (Gordon&Breach)
  5. ผู้ให้บริกาที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล  (Dialog)
  6. ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ(Information Broker)


วิธีการบริการ
  1.  วิธีแบบเดิม คือ บริการนำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ หรือทางโทรสาร
  2. วิธีแบบปัจจุบัน คือ บริการจัดส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง หรือแนบไฟล์
 
วิธีการนำส่ง
  1. ทางไปรษณีย์ เป็นบริการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสาร
  2.  ทางโทรสาร เป็นบริการที่ค่อนข้างล่าช้า และต้องใช้ระยะเวลานานในการจัดส่งเอกสารแต่ละครั้ง 
  3. ทางยานพาหนะ เป็นบริการที่ให้บริการค่อนข้างรวดเร็วต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่มีข้อเสียคือ หากทรัพยากรที่ผู้ใช้ต้องการมีมากเกินไป ยานพาหนะที่จัดส่งอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการจัดเตรียมยานพาหนะในการให้บริการจัดส่งเอกสารให้พร้อมอยู่เสมอ 
  4.  ทาง E-mail เป็นบริการที่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเวลามาก แต่ข้อเสียคือ หากไม่มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ไม่สามารถให้บริการได้ 
  5. นำส่งด้วยภาพลักษ์เอกสาร (Document image system)  -โปรแกรมพรอสเพอโร (Prospero)
    -โปรแกรมเอเรียล (Ariel)






  














































没有评论:

发表评论