2012年8月30日星期四

DRM (Digital Rights Management)

ความหมาย 
        ระบบ DRM (Digital Rights Management) คือระบบการจัดการสิทธิ์ของผู้ใช้ข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล เป็นข้อกำหนดที่ว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูล ภายในสื่อก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือผู้ผลิตจะ กำหนดว่า ผู้ที่ซื้อสามารถทำอะไรกับสินค้าที่ซื้อไปได้บ้าง หรืออีกนัยหนึ่งคือผู้ที่ซื้อเพลงหรือภาพยนตร์ ที่มี DRM ติดมาด้วยนั้นจะไม่สามารถเป็นเจ้าของได้อย่างแท้จริง แต่จะเป็นเพียงผู้ที่มีสิทธิ์ในการเล่นสื่อ เท่านั้น นอกจากนั้น DRM ยังมีการกำหนดไว้อีกด้วยว่า ผู้ที่ซื้อสื่อเหล่านั้นจะสามารถเล่นได้ที่ไหน และ อย่างไร ซึ่งก็รวมถึงการอนุญาตให้มีการทำซ้ำหรือการทำสำเนาด้วย ในปัจจุบันได้มีการติดตั้ง DRM ลงไปไว้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น เครื่องเล่นดีวีดี เครื่อง iPod หรือแม้กระทั่งเครื่องพีซีที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์สก็มีการนำ DRM มาใช้แล้ว ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์อื่น ๆ ก็มีแนวโน้มที่จะมีการนำ DRM มาติดตั้งไว้เช่นกัน

ประโยชน์ของ DRM
         1.ช่วยปกป้องข้อมูลไม่ให้ถูกคัดลอกได้อย่างอิสระ ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสโดยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และจะถอดรหัสได้ก็ต่อเมื่อผู้ชมได้รับสิทธิ์แล้วเท่านั้น
              2.ช่วยสร้างกระแสรายได้จากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถเก็บเงินจากค่าดูข้อมูลที่มีอยู่ได้
              3.ลดค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ไม่จำเป็นต้องลงทุนผลิตซีดีหรือดีวีดี รวมทั้งค่าหีบห่อ

ข้อจำกัดของ DRM รูปแบบต่าง ๆ
         ระบบ DRM จะป้องกันการนำไฟล์ไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเล่นโดยไม่ได้รับอนุญาต การคัดลอกและการทำสำเนาลงแผ่นซีดี / ดีวีดี โดยภาพรวมต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นว่า แต่ละวิธีที่นำมาใช้นั้นทำให้มีข้อจำกัดในการใช้งานอย่างไรบ้าง

ข้อควรระวังในการใช้สื่อที่มีระบบป้องกัน

1.เครื่องเล่นเพลง
               ถ้าผู้ซื้อต้องการคัดลอกเพลงใช้กับเครื่องเล่นแบบพกพา จะต้องระมัดระวังเรื่องรูปแบบ
ของไฟล์ เพราะเครื่องเล่นแต่ละรุ่นมีการสนับสนุนรูปแบบไฟล์ที่ไม่เหมือนกัน เช่น WMA ของ
Musicload หรือ M4P ของ iTunes ซึ่งเป็นวิธีป้องกันความผิดพลาดที่ดีที่สุดก็คือตรวจสอบความ
เข้ากันได้ของเครื่องเล่นกับไฟล์นั้น ๆ ก่อน

2.โทรทัศน์
                ในการซื้อโทรทัศน์เครื่องใหม่ ทั้งแบบ LCD และพลาสมา ผู้ซื้อควรเลือกรุ่นที่สามารถใช้กับ
สื่อที่เป็นแบบ High Definition ได้เพราะไม่เช่นนั้นเครื่องจะไม่สนับสนุนระบบป้องกัน HDCP ที่จะ
ทำให้สามารถดูภาพยนตร์ที่มีคุณภาพสูงสุดเมื่อใช้สื่อบันทึกชนิดใหม่ เช่น แผ่น HD-DVD และ
แผ่น Blu-Ray

3.แผ่นซีดีเพลง / ภาพยนตร์ดีวีดี
                  แผ่นซีดีเพลงที่มีระบบป้องกัน DRM แบบใหม่ติดตั้งอยู่จะไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่อง
เสียงติดรถยนต์ได้และโดยปกติแผ่นเหล่านี้ก็จะมีการระบุไว้ที่ข้างกล่องแล้ว ส่วนภาพยนตร์ดีวีดีนั้น
หากเครื่องเล่นที่ผู้ซื้อใช้ถูกกำหนดให้เล่นได้เฉพาะโซน ผู้ซื้อต้องดูให้ดีก่อนว่าแผ่นนั้นมีรหัสโซนที่
เหมาะสมกับเครื่องที่นำไปเล่นจริง ๆ

4.แผ่นเพลงดีวีดี
                   แผ่นบางแผ่นนั้นจะนำเอาการป้องกันในระดับฮาร์ดแวร์มาใช้ด้วย ซึ่งระบบป้องกันเหล่านี้
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับระบบ DRM แบบใหม่ ซึ่งทำให้แผ่นไม่สามารถนำไปใช้กับเครื่องพีซีได้เลย ดังนั้น
ก่อนซื้อมาใช้งานผู้ซื้อควรตรวจสอบให้ดีก่อน โดยสังเกตได้จากข้างกล่องบรรจุ ซึ่งมักจะระบุให้
ทราบหากมีการใช้ระบบป้องกันลักษณะนี้

ตัวอย่างการทำ DRM Decryption ของไฟล์ WMV, WMA

                DRM คือการเอาไฟล์ WMV, WMA มาทำการเข้ารหัส เพื่อให้ไม่สามารถดูได้ การเปิดดูนั้นต้องใช้
License ในการเปิดดู ใน License จะมี KID และ SID เป็นคีย์ที่ใช้ในการถอดรหัสข้อมูลออกมา
ซึ่งทางผู้ให้บริการจะเป็นคนให้ License กับผู้ซื้อทุกครั้งที่เปิด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับทางผู้ให้บริการนั้นว่าจะให้ทำ


อะไรกับไฟล์ได้บ้าง เช่น


                   - Hiptv ดูได้ไม่จำกัด แต่เขียนลงแผ่นไม่ได้ Sync ลง Media อื่น ๆ ไม่ได้
                   - MIXIClub (ที่ขายเพลงของ RS) ให้ฟังได้ไม่จำกัด แต่เขียนเป็น CD Audio ได้ 3 ครั้ง
                 

                  การที่ไฟล์ถูกเข้ารหัสไว้ทำให้โปรแกรมอื่น ๆ ที่ไม่มีคีย์ที่ใช้ในการถอดรหัสข้อมูลออกเปิดดูไม่ได้ (รวมถึง แก้ไข ตัดต่อ เขียนลงแผ่น) เหมือนไฟล์นั้นเสีย

โปรแกรมและคุณสมบัติของเครื่องที่ต้องใช้ในการ Remove DRM
1. DecryptIt
2. Drmbdg
3. Windows Media Player
4. Windows ที่ไม่ได้อัพเดทบ่อย ๆ (เพราะมีอัพเดทบางตัวที่มีปัญหากับการใช้โปรแกรม Drmbdg)




2011年8月31日星期三

บริการแนะนำ & Web 2.0 8.28



บริการแนะนำการใช้หอสมุด และบริการแนะนำการอ่าน
 เป็นบริการที่จัดเตรียมโดยห้องสมุดหรือสถาบันบริการสารสนเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจในการอ่านการใช้ทรัพยากรสารสนเทศภายในในรูปแบบต่างๆของ ห้องสมุด ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียน การสอน และการค้นคว้าวิจัยของผู้ใช้แต่ละคน พูดโดยตรงก็คือเพื่อให้ผู้ใช้ได้อ่านหนังสือที่มี ประโยชน์ดี 
เช่นการทำ Poster เพื่อแนะนำ


กิจกรรมส่งเสริมหนังสือน่าอ่าน
หมายถึงกิจกรรมต่างๆที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกิดการอ่านอย่างต่อเนื่องจน กระทั่งเป็นนิสัยรักการอ่าน เช่น การเล่านิทาน การเชิดหุ่น การแสดงละคร การแนะนำ หนังสือที่น่าสนใจ เป็นต้น
1.เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือใหม่ ๆ ของห้องสมุดต่อผู้ใช้บริการ
2.เพื่อเป็นการส่งเสริมการอ่าน และการหาความรู้ด้วยตนเอง
3.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์งานของห้องสมุด

  กิจกรรมกระเช้าหนังสือ
1.เพื่อให้มีสิ่งพิมพ์อยู่ใกล้ตัวนักเรียน
2.เพื่อส่งเสริมการใช้เวลาว่างของนักเรียนให้เป็นประโยชน์ด้วยการอ่าน
3.เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียนไปตลอดชีวิต

กิจกรรมระเบียงความรู้
1.เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักการอ่าน และมีแหล่งความรู้ใกล้ตัว
2.เพื่อส่งเสริมให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
3.เพื่อให้เกิดการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
4.เพื่อใช้ผู้ใช้ทราบเหตุการณ์ที่เป็นปัจจุบัน
กิจกรรมยอดนักอ่าน
1.เพื่อส่งเสริมการอ่านให้กว้างขวางขึ้น และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แพร่หลาย
2.เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้ที่รักการอ่านได้พัฒนาการอ่านไปตลอดชีวิต
เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนและครูทุกคนได้เห็นคุณค่าของการอ่าน และรักการอ่านมากยิ่งขึ้น









เว็บ2.0 (Web 2.0) มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บซึ่งมีลักษณะ ส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูลการพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง user-centered designและการร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บเว็บ ไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการ ของเว็บ  2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออ นไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม หรือดูเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจ สำหรับตัวอย่างของเว็บ 2.0 ได้แก่ บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ สารานุกรมเสรี วิดีโอแชริง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ แมชอัพส์ และ โฟล์คโซโนมี
คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม โอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 คำว่า เว็บ 2.0 นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะ ของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัวเว็บ 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใดแต่เป็นคำที่กล่าวถึงลักษณะโดยรวมที่ผู้พัฒนาเว็บเปลี่ยนแปลง วิธีการออกแบบเว็บไซต์และผู้ใช้ปลายทางเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้งานเว็บ ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้เริ่มแนวความคิด และสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของเว็บ 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า "เว็บ 2.0" จะถูกนำมาเรียกใช้ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของเบอร์เนิร์ส ลี คือการสร้างสื่อที่เอื้อต่อการร่วมสรรค์สร้างของผู้ใช้งาน เป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่รับ แต่สามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้วย
WEB 2.0 นั้นมีคำจำกัดความหลายอย่าง ทิม โอไรล์ลีย์ ได้กล่าวไว้ว่าเว็บ 2.0 เปรียบ เหมือนธุรกิจ ซึ่งเว็บกลายเป็นแพลตฟอร์มหนึ่ง ที่อยู่เหนือการใช้งานของซอฟต์แวร์ โดยไม่ยึดติดกับตัวซอฟต์แวร์เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา โดยมีข้อมูล ที่เกิดจากผู้ใช้หลายคน (ตัวอย่างเช่น บล็อก) เป็นตัวผลักดันความสำเร็จของเว็บไซต์อีกต่อหนึ่ง ซึ่งเว็บไซต์ในปัจจุบันมี ลักษณะการสร้างโดยผู้ใช้ที่อิสระ และแยกจากกันภายใต้ซอฟต์แวร ตัวเดียวกัน เพื่อสรรค์สร้างระบบให้ก่อเกิดประโยชน์ในองค์รวมโอไรล์ลีย์ได้แสดงตัวอย่าง ของระดับของเว็บ  2.0 ออกเป็นสี่ระดับ ดังนี้
 ระดับ3 - ระดับของการใช้งานจากผู้ใช้ทั่วไปในอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นลักษณะของการสื่อสาร ของมนุษย์ภายใต้เว็บไซต์เดียวกัน ตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย สไกป์ อีเบย์ เครกส์ลิสต์
 ระดับ2 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน อินเทอร์เน็ตแต่ เมื่อนำมาใช้งานออนไลน์ นั้น จะมีประโยชน์มากขึ้นจากการเชื่อมโยงผู้ใช้งานเข้าด้วยกัน ซึ่งโอไรลลีย์ ยกตัวอย่างเว็บไซต์ ฟลิคเกอร์ เว็บไซต์อัปโหลดภาพที่มีการใช้งานเชื่อมโยงระหว่างภาพ และเช่นเดียวกันระหว่างผู้ใช้งาน
 ระดับ1 - ระดับการจัดการทั่วไปที่สามารถใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่าน อินเทอร์เน็ต แต่มีความสามารถเพิ่มขึ้นมีนำมาใช้งานออนไลน์ ตัวอย่างเช่น ไรต์รีย์ (ปัจจุบันคือ กูเกิลดอคส์) และ ไอทูนส์
 ระดับ0 - ระดับที่สามารถใช้งานได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เช่น แมปเควสต์ และ กูเกิล แมปส์
ซึ่งแอปพลิเคชันหลายตัวที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารอย่าง อีเมล เมสเซนเจอร์ ไม่ได้ถูกจำกัดอยู่ในลักษณะของเว็บ 2.0 แต่อย่างใด
โดยลักษณะที่เด่นชัดของเว็บ 2.0 นั้น จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาและการโต้ตอบระหว่างผู้ให้บริการ และผู้ใช้งาน แทนที่จากระบบเว็บแบบเก่า ที่เป็นลักษณะของการให้บริการอ่านอย่างเดียว โดยรวมไปถึงการรวดเร็ว และการง่ายดายของการส่งข้อมูล แทนที่แบบเก่าที่ต้องจัดการผ่านเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งบล็อกและ เว็บที่ให้บริการอัปโหลดภาพถูกนำมาใช้เป็นตัวอย่างของเว็บ 2.0 ที่ให้เห็นได้ทั่วไป ที่มีการให้บริการแสดงความคิดเห็น รวมถึงการใช้งานที่ง่าย โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์แต่อย่างใด เห็นได้ว่าลักษณะของเว็บ 2.0 นั้นก่อให้เกิดการสร้างเนื้อหา ที่รวดเร็ว และมีการแบ่งปันข้อมูลที่ง่ายขึ้น โดยลักษณะของเว็บเปลี่ยนจากทางเน้นหนักทางด้านเทคนิค ไปใน ด้านข้อมูลข่าวสารแทนที่ และก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านธุรกิจต่อมา

2011年8月21日星期日

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

บริการยืมระหว่างห้องสมุด

 ความหมาย
บริการยืมระหว่างห้องสมุด(Interlibrary Loan or Interlibrary Lending -- ILL)เป็นบริการสถาบันสารสนเทศที่จัดขึ้นเพื่อลดปัญหาทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการไม่เพียงหรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช และเป็นกิจกรรมความร่วมมือระหว่างสถาบันซึ่งมีกระบวนการที่ผู้ใช้จากห้องสมุดหนึ่ง มีความต้องการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทใดประเภทหนึ่งจากอีกห้องสมุดหนึ่งที่มีความตกลงในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

 ความสำคัญของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. ขยายขอบเขตการใช้ทรัพยากรสารสนเทศของผู้ใช้ให้สามารถใช้ทรัพยากรสารสนเทศของ สถาบันบริการสารสนเทศอื่นได้
  2. สร้างภาพพจน์ที่ดีของงานบริการของสถาบันบริการสารสนเทศ เพื่อให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจความประทับใจ และความรู้สึกอันดีต่อห้องสมุด
  3. ลดช่องว่างระหว่างห้องสมุดที่มีทรัพยากรสารสนเทศจำนวนมากกับห้องสมุดที่มีทรัพยากรจำนวน จำกัด และลดภาวะการขาดแคลนทรัพยากรสารสนเทศเนื่องจากงบประมาณมีจำกัด
  4. หลีกเลี่ยงการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศซ้ำซ้อนกัน 
  5. เกิดความร่วมมือระหว่างห้องสมุด และส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือระหว่างก้องสมุดภายในภูมิภาคเดียวกันและต่างภูมมิภาค
ปัญหาของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. ด้านผู้ใช้ ผู้ใช้ขาดความเข้าใจในแบบฟอร์มการยืมระหว่างห้องสมุดเกี่ยวกับการกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วน และความไม่เข้าใจในระเบียบการใช้ห้องสมุดที่ต้องการยืมจึงทำผิดระเบียบโดยไม่เข้าใจ
  2. ด้านผู้ให้บริการ ห้องสมุดมีการหมุนเปลี่ยนงานในหน้าที่เป็นประจำ จึงส่งผลให้บริการยืม ระหว่างห้องสมุดต้องมีการปรับเปลี่ยนผู้ที่ลงนามในแบบฟอร์ม
  3. ด้านนโยบายและข้อตกลงความร่วมมือ ห้องสมุดมีเคร่งครัดต่อกฏระเบียบการบริการยืมระหว่าง ห้องสมุดมากเกินไป ไม่ผ่อนผันตามความจำเป็น
  4. ด้านการดำเนินการและบริการยืมระหว่างห้องสมุดทางเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์เครื่องมืออุปกรณ์ ที่ยังไม่พร้อมจะให้บริการยืมระหว่างห้องสมุดผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

องค์ประกอบของบริการยืมระหว่างห้องสมุด
  1. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 
    - ความร่วมมือตามสังเกตของหน่วยงาน
    - ความร่วมมือตามประเภทของห้องสมุด
    -ความร่วมมือตามสาขาวิชา
    -ความร่วมมือตามพื้นที่ภูมมิศาสตร์ 
  2.  การจัดทำข้อตกลงความร่วมการบิการยืมระหว่างห้องสมุด การร่วมมือการบิการยืมระหว่างห้องสมุด จำเป็นต้องการมีข้อตกลงเกี่ยวกับเงื่อนไขต่างที่จะพบในการให้บริการ เช่นวิธีการดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายในการยืม เป็นต้น
  3. แบบฟอร์มบริการยืมระหว่างห้องสมุด เป็นแบบฟอร์มที่เพื่อให้ผู้ใช้กรอกรายละเอียดในการยืมทรัพยากรสารสนเทศ 
  4. ผู้ใช้  

 แหล่งที่มา http://www.lib.northcm.ac.th/ncucms/?name=news&file=readnews&id=110








การบริการนำส่งเอกสาร


บริการนำส่งเอกสาร (Document Delivery Service--DD) หมายถึงการจัดหาเอกสารที่ผู้ใช้ต้องการทั้งเอกสารที่พิมพ์เผยแพร่แล้วและยังไม่ได้เผยแพร่ และจัดส่งให้ผู้ใช้ในรูปของเอกสารกระดาษหรือวัสดุย่อส่วน หรือเอกสารอเล็กทรอนิกส์ด้วยวิธีการนำส่งที่มีประสิทธิภาพ และมีการคิดค่าบริการกับผู้ใช้ บริการนำส่งเอกสารนี้ยังรวมถึงส่วนที่เดี่ยวข้องกัลลิขสิทธ์






ควาสำคัญของบริการนำส่งเอกสาร
  1. ลดการสะสมสารสนเทศของห้องสมุด 
  2. ทำให้จัดสรรงบประมาณของห้องสมุดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. ขยายขอบเขตการเข้าถึงสารสนเทศแก่ผู้ใช้ไม่ว่าสารสนเทศนั้นจะมีให้บริการที่ใดก็ตาม
  4. ทำให้มีบริการสารสนเทศที่ครบวงจร
ปรัชญาของการบริการ  
  1. ไม่มีห้องสมุดใดที่สามารถมีทรัพยากรสารสนเทศครบตามที่ผู้ใช้ต้องการ 
  2. สามารถสนองตอบความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง
  3. สามารถแก้ปัญหาการบริการให้แก่ผู้ใช้ ในเรื่อง ไฟ น้ำท่วม หรือในกรณีที่เกิดการสูญหายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพิ่มศักยภาพในการทำงาน ซึ่งในการบริการผู้ใช้นั้นผู้ที่ให้บริการจะต้องมีการเพิ่มหรือเสริมสร้างศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริการที่มีคุณภาพ

วัตถุประสงค์ของการบริการ
ในการให้บริการนำส่งเอกสารของห้องสมุดนั้นจะใช้รูปแบบการบริหารจัดการแบบ Just in time คือ เป็นรูปแบบในการบริหารจัดการในการให้บริการแก่ผู้ใช้ที่าสามารถนำทรัพยากรมาให้ผู้ใช้ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สามารถค้นหาได้ทันเวลาและทันต่อเหตุการณ์ สามารถดำเนินการได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ทันที 





ประเภทของผู้ให้บริการนำส่งเอกสาร
  1. ผู้ให้บริการที่เป็นห้องสมุด
  2. ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารทั่วไป  (CarlUncover)
  3. ผู้ให้บริการที่นำส่งเอกสารเฉพาะด้านหรือเฉพาะวิชา (University Microfilm international --UMI)
  4. ผู้ให้บริการที่เป็นสำนักพิมพ์ (Gordon&Breach)
  5. ผู้ให้บริกาที่เป็นผู้จัดจำหน่ายฐานข้อมูล  (Dialog)
  6. ผู้ให้บริการที่เป็นนายหน้าค้าสารสนเทศ(Information Broker)


วิธีการบริการ
  1.  วิธีแบบเดิม คือ บริการนำส่งเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ หรือทางโทรสาร
  2. วิธีแบบปัจจุบัน คือ บริการจัดส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ สแกนส่ง หรือแนบไฟล์
 
วิธีการนำส่ง
  1. ทางไปรษณีย์ เป็นบริการที่ต้องใช้ระยะเวลาในการส่งเอกสาร
  2.  ทางโทรสาร เป็นบริการที่ค่อนข้างล่าช้า และต้องใช้ระยะเวลานานในการจัดส่งเอกสารแต่ละครั้ง 
  3. ทางยานพาหนะ เป็นบริการที่ให้บริการค่อนข้างรวดเร็วต่อผู้ใช้เป็นอย่างมาก แต่มีข้อเสียคือ หากทรัพยากรที่ผู้ใช้ต้องการมีมากเกินไป ยานพาหนะที่จัดส่งอาจไม่เพียงพอ จึงต้องมีการจัดเตรียมยานพาหนะในการให้บริการจัดส่งเอกสารให้พร้อมอยู่เสมอ 
  4.  ทาง E-mail เป็นบริการที่สามารถจัดส่งเอกสารให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเวลามาก แต่ข้อเสียคือ หากไม่มีระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ไม่สามารถให้บริการได้ 
  5. นำส่งด้วยภาพลักษ์เอกสาร (Document image system)  -โปรแกรมพรอสเพอโร (Prospero)
    -โปรแกรมเอเรียล (Ariel)






  














































2011年7月24日星期日

เทคโนโลยีสมัยที่ใช้เกี่ยวกับห้องสมุดหรืออื่นๆ

Library trend : IFLA, ALA, UNESCO (2011)

1.       1.Cloud Computingè Internet ที่ตั้ง กลุ่มก้อน
Black April
OCLC
แยกตามกลุ่มผู้ใช้
Cloud ระดับองค์กร ...  loud library
Cloud ระดับบุคคล /บริการ
Gmail, Facebook, Meebo
Cloud ผสม
         Dropbox
แยกตามการให้บริการ
Public Cloud
Private Cloud
Hybrid Cloud
แยกตามประเภทของเทคโนโลยี
. SaaS – Software as a Service
         www.zoho.com
docs.google.com
Facebook
Amazon
. IaaS – Infrastructure as a Service
Software as a service à free
. PaaS – Platform as a Service

 2. Mobile Device
รู้จักผู้ใช้ และ พถติกรรมจาก Truehits.net
         Smart phone: Java, debian
Tablet: android
eReader : ios
NetBook : Windows
Stks.or.th/elearning
www.google.com/analytics/
nstda.or.th

3.    Digital content & Publishing
 ebook, IR, Digital library, OJS
http://www.siamrarebooks.com/
1.       การได้มาของเนื้อหา
2.       กระบวนการผลิต และรูปแบบ
3.       ลิขสิทธิ์ ต้นฉบับและการเผียแพร่
 รูปแ บบ ebook
. doc
. pdf
Flip eBook
Flash Flip eBook
ePublishing
.ePub
Digital Multimidia Book
4.       Crosswalk Metadata
MARC
MARCML
Dublin core
ISAD(g)
CDWA
RDF (museum)
OWL (km)
MODs
METs
PDF Metadata
Doc Metadata
EXIF
XMP
IPTC
5.       Open Technology
Z39.5
แลกเปลี่ยนข้อมูลบรรณานุการกลมหนังสือผ่าน ILS
ILSß-àILS
Z39.88
ILSß-à Apps
การเพิ่มลำดับเว็บ/จัดลำดับเว็บ Webometric
OAI-PMH    ß--- one search
    ILS หรื CBsß-à DBs, Apps
http://tnrr.in.th/( important) เว็บนี้มีหน้าที่ในการดูดข้อมูลที่ป้อนเข้าในเว็บใหม่ๆ
http://tnrr.in.th/beta  ค้นหานักวิจัยไทย
Keyword มีผลในการทำ link
ฐานข้อมูลนักวิจัย มช.
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ มช.
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ม. แม่โจ้
ฐานข้อมูลผลงานวิจัย สวทช
ทำย่างไรให้มีระสืบค้นที่ค้นได้จากทุกฐานข้างต้น
เป็น onesearch แบบ web query
Web3.0
. Linked Data à semantic web/web 3.0
integrate sin x dx from x=0 to pi
. Metadata
. Bibliography

6.       Data & information mining /visualization
“visual search engine” ( google)
http://www.Spezify.com 
http://vadl.cc.gatech.edu/ ห้องสมุดดีจิตอน visual analytics digital library
7.       Green library <= Global warming
… Green building
… Green ICT <->cloud